วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562
อารยธรรมทราวดี ที่แผ่อำนาจ มาจนถึงตอนกลางของภาคอีสานประเทศไทย
จากอาณาจักรศรีเกษตร
ดินแดนที่เคยรุ่งเรือง เมื่อ 2500 ปี ที่ได้รับอารยธรรม อินเดีย กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของดินแดนสุวรรณภูมิ ที่เข้าสู่ศาสนาพุทธ เต็มรูปแบบ กับอารยธรรมทราวดี ที่แผ่อำนาจ มาจนถึง ตอนกลางของภาคอีสานประเทศไทย
ที่ มีร่องรอยประวัติศาสตร์ ของเมืองโบราณ ที่ไม่ได้จารึกในพงศาวดาร ฉบับใดๆในโลก แต่เรื่องราวของ เมืองจําปาศรี ในปัจจุบัน คือพระธาตุนาดูน ที่มีร่องรอยอารยธรรมของทราวดี ให้เราได้สืบค้น กับการหาร่องรอย ประวัติศาสตร์
และต้นกำเนิด ของเมืองจำปาศรี ว่ามาจากที่ใด ใครคือผู้สร้าง และยังค้นหาคำตอบไม่ได้ กับเรื่องราวสองพันกว่าปี ที่อำเภอนาดูนจังหวัด มหาสารคาม
ติดตามประวัติพระบรมธาตุนาดูนได้ที่
https://phathatnadun.blogspot.com/
บรรยากาศพิธีบรวงสรวงใหญ่
บรรยากาศพิธีบรวงสรวงใหญ่ #งานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน
ในเช้าวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562
โดยมีพี่น้องประชาชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก พอเสร็จสิ้นพิธี ต่างคนต่างได้ผลไม้และเครื่องบรวงสรวงติดไม้ติดมือกลับไปด้วย ถ้าท่านใดได้ทานผลไม้เครื่องบรวงสรวง โบราณได้กล่าวไว้ว่า ถือว่าคือผลไม้ทิพย์ เพราะเป็นผลไม้ถวายเทพเทวดาแล้ว
ติดตามประวัติพระบรมธาตุนาดูนได้ที่
https://phathatnadun.blogspot.com/
บรรยากาศพิธีบรวงสรวงกู่สันตรัตน์ ประจำปี 2562
#บรรยากาศพิธีบรวงสรวงกู่สันตรัตน์ ประจำปี 2562
โดยพิธีบรวงสรวงกู่สันตรัตน์จะจัดขึ้นก่อนงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ในทุกๆปี ปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562
โดยพิธีบรวงสรวงกู่สันตรัตน์จะจัดขึ้นก่อนงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ในทุกๆปี ปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562
#กู่สันตรัตน์เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะแบบขอม เป็นสถานที่ ที่เรียกว่าอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาล ตั้งอยู่ที่ตำบล กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูน มาทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ประมาณ 4 กิโลเมตร
กู่สันตรัตน์มีลักษณะเป็นปราสาทแบบย่อมๆ ตั้งอยู่บนฐานชั้นเดียวสร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมลอบในกรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางด้านหน้าปราสาททางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมี สระสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งน่าจะหมายถึงบาราย ซึ่ง เป็นไปตามคติของขอม(เขมร) ที่ว่าเมื่อมีการสร้างปราสาทหินก็มีการ ขุดสระหรือ บารายกักน้ำไว้ในที่ใกล้เคียงนั้นด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)